ปรัชญา
วิชฺชาจรณสมฺปนโน ความรู้คู่คุณธรรม
เอกลักษณ์
ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์
เอกลักษณ์
รอบรู้วิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา งดงามจริยา มีจิตสาธารณะ
วิสัยทัศน์
สร้างรากแก้วพุทธศาสน์ เป็นศาสนทายาทที่ดีมีความรู้ ทั้งภาษาบาลีและสายสามัญ มีศีลธรรมและกิริยามารยาท งดงามตามอุดมคติทางพระพุทธศาสนา
พันธกิจ
๑. จัดการศึกษาเพื่อผลิตเยาวชนให้มีคุณภาพตามศักยภาพเฉพาะตน และมีคุณธรรมด้วยกระบวนการ การเรียนรู้ที่หลากหลาย
๒. สร้างการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังในการ พัฒนาประเทศ
๓. บริการวิชาการและแหล่งการเรียนรู้ทางศาสนาของสังคมอย่างต่อเนื่อง
๔. สร้างองค์ความรู้ในการทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน
๕. ส่งเสริมนักเรียนศึกษาพระธรรมวินัยและบาลี
๖. พัฒนาระบบบริหารที่มีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน
๑.พระมหามงกุฏ และ อุณาโลม หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราช วิทยาลัย”
๒.พระเกี้ยวประดิษฐานบนหมอนรอง หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย”
๓.หนังสือ หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๔.ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ หมาย ถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน การพิมพ์เผยแพร่คัมภีร์และการผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นทั้งสถาบันศึกษา และแหล่งผลิตตำรับตำราทาง พระพุทธศาสนา
๕. ช่อดอกไม้แย้มกลีบ หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญา และวิทยาการในทางพระพุทธศาสนา และหมายถึง กิตติศัพท์กิตติ คุณที่ฟุ้งขจรไป ดุจกลิ่นหอมแห่งดอกไม้
๖. ธงชาติไทย หมายถึง อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มุ่งพิทักษ์สถาบันหลักทั้ง ๓ คือ ชาติไทย พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์
๗. พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง และแพร่หลายของ พระพุทธศาสนา
๘.วงรัศมี หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญา วิสุทธิ สันติ และกรุณา ที่มหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัยมุ่งสาดส่องไปทั่ว โลก
๙.โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หมายถึง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อันเป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน